บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พระมหาอำนวย อานันโท[03]


พระมหาอำนวยทำวิจัยเรื่อง “การศึกษาเรื่องการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท”  เป็นวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ ปี 2542 ก็ประมาณ 13 ปีมาแล้ว

ผมได้นำบทคัดย่อของงานวิจัยชิ้นนี้ลงไปในบทความ “พระมหาอำนวย อานันโท[01] แล้ว  ต่อไปเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ลงในรายละเอียด

ในบทความ “พระมหาอำนวย อานันโท[02] พระมหาอำนวยไม่รู้เมายามาจากไหน สรุปผลการวิจัยว่า ผู้ปฏิบัติจะปฏิบัติธรรมหมวดใดก็ได้ในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการก็สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ 

โดยมีเหตุผลที่ปราศจากหลักฐานสนับสนุนว่า “แม่น้ำทุกสายย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร ฉันใด การปฏิบัติธรรมตามหมวดธรรมใดย่อมนำไปสู่การบรรลุธรรมได้ ฉันนั้น

ต่อจากนั้นมาพระมหาอำนวยก็สรุปฟันธงแบบไม่อายฟ้า ไม่อายดินว่า โดยสรุปการปฏิบัติธรรมนั้นมี 2 วิธี คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งจะต้องปฏิบัติควบคู่กันไป โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน ถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติ ถ้าผู้ปฏิบัติยังไม่สามารถยกจิตเข้าสู่วิปัสสนาญาณได้ การบรรลุมรรคผลจะไม่เกิดขึ้นเลย

ข้อให้ท่านผู้อ่าน ตั้งใจอ่านสักนิดหนึ่ง  ข้อความที่มาก่อนข้อสรุป กับ ข้อสรุปนั้น  ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเลย   พระมหาอำนวยเมายาทันใจหรือไงก็ไม่รู้ ถึงได้สรุปมาแบบนั้นได้

ก็ดังที่ผมได้บอกไปแล้วว่า พระมหาอำนวยมีรูปแบบการปฏิบัติธรรมอยู่ในใจแล้วคือ ของสายยุบหนอพองหนอ พระมหาอำนวยเอาสิ่งที่อ่านมาได้ ตัดแปะไปเรื่อย เพื่อที่จะให้ไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้แล้ว

ข้อความนี้
โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน ถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติ ถ้าผู้ปฏิบัติยังไม่สามารถยกจิตเข้าสู่วิปัสสนาญาณได้ การบรรลุมรรคผลจะไม่เกิดขึ้นเลย

ในการปฏิบัติธรรมนั้น  พื้นฐานที่สุดเลยก็คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ตรงนี้ไม่มีใครโต้แย้ง  แต่ทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานไม่สามารถทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้แน่ๆ  เพราะเป็นแค่พื้นฐาน

วิปัสสนากรรมฐานกับวิปัสสนาญาณไม่ใช่สิ่งเดียวกัน  วิปัสสนากรรมฐานกับวิปัสสนาญาณเกี่ยวพันกันอย่างไร พระมหาอำนวยไม่ได้อธิบายไว้ 

พระอำนวยเคยอ่านคำสอนของสาวกพระพม่าเรื่อง วิปัสสนาญาณ 16  ท่านก็จะ “ลากการวิจัย” ให้ไปถึงวิปัสสนาญาณ 16 ให้ได้ 

ในย่อหน้าแรกๆ ท่านกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติจะปฏิบัติธรรมหมวดใดก็ได้ในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการก็สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ 

ในย่อหน้าต่อมา ท่านทิ้งโพธิปักขยธรรม 37 ดื้อๆ  เอาวิปัสสนาญาณ 16 มาใช้ดื้อๆ

ต่อไปเป็นข้อความสุดท้ายที่จะวิพากษ์วิจารณ์พระมหาอำนวย

ผลของการบรรลุธรรมนั้นมี 4 ระดับ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และ อรหัตตผล ซึ่งผลของการบรรลุธรรมแต่ละระดับ สามารถขจัดกิเลสได้ตามลำดับ ตั้งแต่กิเลสอย่างหยาบไปจนถึงกิเลสอย่างละเอียด พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ ไปด้วย

ข้อความของพระมหาอำนวยข้างบนนั้น ทำให้ผมละเหี่ยใจกับการศึกษาในระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยดังกล่าวเหลือเกิน  ทำไมคุณภาพมันถึงต่ำขนาดนี้

ความที่มีคุณภาพที่ต่ำมากอย่างนี้ ผมจึงสงสัยว่า พระมหาอำนวยเข้าอยู่ในข่ายใดของประเภทของการบวชที่โบราณว่าไว้ ดังนี้ “บวชลอง บวชลี้ บวชหนีสงสาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน บวชเปื้อนศาสนา บวชศึกษาพระธรรม

พระมหาอำนวยไม่รู้จัก “อาสวะ” เลยหรือ!!!

เว็บบ้านธัมมะได้กล่าวถึง “อาสวะ” ไว้ดังนี้

อา (ทั่ว) + สว (เจริญ ,ไหลไป) กิเลสเครื่องหมักดองที่ไหลไปทั่ว หมายถึง อกุศลธรรมชนิดหนึ่งที่มีสภาพหมักหมมไว้ในขันธ อาสวะมี ๔ อย่าง คือ
  • กามาสวะ  เครื่องหมักดองคือความยินดีในกาม  ได้แก่  โลภเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิต    ดวง
  • ภวาสวะ เครื่องหมักดองคือความยินดีในภพ  ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับโลภทิฏฐิคตวิปปยุตต์    ดวง
  • ทิฏฐาสวะ  เครื่องหมักดองคือความเห็นผิด ได้แก่  ทิฏฐิเจตสิกที่เกิด ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ๔ ดวง
  • อวิชชาสวะ  เครื่องหมักดวงคือความไม่รู้ ได้แก่ โมหเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวง

ตัว “อาสวะ” นี้ ต้องใช้ “อาสวักขยญาณ” ของวิชชาสามเป็นตัวกำจัด ซึ่งเมื่อกำจัดแล้ว  บุคคลนั้น จึงจะบรรลุโสดาบัน 

บุคคลที่บรรลุโสดาบันแล้ว ยังมี “สังโยชน์” ที่จะต้องกำจัดอีก

การที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักธรรมและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมแต่ไม่กล่าวถึงวิชชาสาม ไม่กล่าวถึงอริยสัจ 4 ไม่กล่าวถึง “อาสวะ” ผมถึงลงความเห็นว่า เป็นวิทยานิพนธ์ที่ห่วยแตกจริงๆ..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น