บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา


ในบทความชุดนี้ ต้องการจะนำเสนอว่า กิเลสอยู่ที่ไหนและได้กล่าวไปแล้วว่า อยู่ใน “ขันธ์ 5”  จึงต้องกล่าวถึง “ขันธ์ 5”  ให้เข้ากันตรงกันเสียก่อน

พุทธวิชาการหรือสายปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ “ขันธ์ 5”  โดยได้ยกตัวอย่างข้อเขียนของพระประยุทธ์พระเปลืองข้าวสุกประชาชนไปในบทความที่แล้ว

คราวนี้ มาถึงแหล่งที่พุทธวิชาการหรือนักปริยัติตีความกันว่า “ตัวตนไม่มี” ออกนอกทุ่งนอกท่า นอกศาสนากันไปคือ อนัตตลักขณสูตร

อนัตตลักขณสูตรมีเนื้อหาที่ตัดข้อความที่ซ้ำๆ กันลงไปบ้าง ดังนี้

[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  รูปเป็นอนัตตา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ..........
สัญญาเป็นอนัตตา ..........
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ..........
วิญญาณเป็นอนัตตา ..........

ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?  ...................
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ...................
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ...................
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ...................

ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป

เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...................
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง...................
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ...................
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง...................

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น  เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค.

ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

อนัตตลักขณสูตร จบ

ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ

ขอให้ดูข้อความนี้ “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเราข้อความอย่างนี้ ในทางภาษาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ว่า “ตัวตนของเรามี” ซึ่งก็สอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ว่าตัวตนของเรามี

ขอยกพุทธพจน์ที่แสดงว่า “ตัวตนของเรามี”  อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
อตฺตา   หิ  อตฺตโน  นาโถ
ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า
อตฺตา  หเว   ชิตํ  เสยฺโย
บัณฑิตย่อมฝึกตน
อตฺตานํ   ทมยนฺติ  ปณฺฑิตา
จงเตือนตนด้วยตนเอง
อตฺตนา   โจทยตฺตานํ
คนเห็นแก่ตัว   เป็นคนสกปรก
อตฺตตฺถปญฺญา   อสุจี  มนุสฺสา
เมื่อคบคนดีกว่าตน ตนเองก็ดีขึ้นมาทันที
เสฏฺฐมุปคมญฺจ   อุเทติ  ขิปฺปํ
ผู้ฝึกตนได้เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์
ทนฺโต   เสฏฺโฐ  มนุสฺเสสุ

กลับมาที่ข้อความที่ว่า ขอให้ดูข้อความนี้ “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา ผมขอยืนยันในฐานะนักภาษาศาสตร์ว่า ข้อความอย่างนี้ ในทางภาษาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ว่า “ตัวตนของเรามี

ยกตัวอย่างเช่น

สมมุติว่า สามีใช้ภรรยาให้ไปเปิดประตูรถเพื่อหยิบกระเป๋าสตางค์มาให้ แต่บังเอิญว่า มีรถยนต์รุ่นเดียวกัน สีเดียวกันมาจอดใกล้ๆ กัน 

ภรรยากำลังใช้กุญแจเปิดประตูรถที่เป็นของคนอื่น  สามีก็ต้องบอกว่า “นั่นไม่ใช่รถของเรา” ซึ่งก็หมายความว่า รถของเราต้องมี

ประเด็นที่ว่า พุทธวิชาการไม่เข้าใจเรื่อง “ตัวตนของเรามี” นั้น  นอกจากพระประยุทธ์/พระเปลืองข้าวสุกประชาชนแล้ว  ก็ยังมีอีกมากที่คิดไปอย่างนั้น

ส่วนใหญ่พวกนี้ ตกนรกกันทั้งนั้น

ขอยกตัวอย่างคำอธิบายในประเด็นนี้ของคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ ในหนังสือคำถาม-คำตอบ ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม 3 ดังนี้

คำถาม : การแปล “อนัตตา” ว่าไม่มีตัวตน หรือไม่ใช่ตัวตนจะเป็นการแปลผิดหรือไม่?

เพราะพุทธภาษิตก็มีรับรองว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน และวิทยาศาสตร์ก็รับรองว่า วัตถุนั้นมี มนุษย์ สัตว์ พืช และสากลจักรวาลก็มีอยู่ (ผู้ถาม: ส.วรรธนะภูติ)

คำตอบ : การแปลอนัตตาว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน หรือไม่ใช่ตนก็แล้วแต่ เป็นการแปลเพื่อให้เห็นการปฏิวัติของพระพุทธศาสนาต่อความเชื่อดั้งเดิมของพราหมณ์ที่ถือว่า มีตัวยืนที่เรียกว่า อัตตาหรืออาตมันเป็นตัวเที่ยงยั่งยืนเวียนว่ายตายเกิดอยู่
............................................................................................................................................................
ส่วนเหตุผลที่ทรงชี้ว่า มิใช่ตนหรือไม่ใช่อัตตานั้น เพราะไม่ว่าร่างกายหรือจิตใจมีความเปลี่ยนแปลง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามชอบใจมิได้

ขอให้สังเกตคำตอบของคุณสุชีพ ปุญญานุภาพจะเห็นว่า “มั่ว” ทั้งสิ้น ไม่ได้มีความเป็นเหตุเป็นผลเลยแม้แต่น้อย

ข้อความแรกที่ว่า “การแปลอนัตตาว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน หรือไม่ใช่ตนก็แล้วแต่ เป็นการแปลเพื่อให้เห็นการปฏิวัติของพระพุทธศาสนาต่อความเชื่อดั้งเดิมของพราหมณ์

คำตอบดังกล่าวของคุณสุชีพ เป็นการตอบแบบไม่มีหลักการทางภาษาศาสตร์ ไปเอาหลักฐานมาจากที่อื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย

ขอให้ดูคำอธิบายของผม ผมจะยกอนัตตลักขณสูตร และอธิบายตาม “ข้อความที่ปรากฏอยู่” คุณสุชีพ ปุญญานุภาพอธิบายไปตามความเชื่อวิทยาศาสตร์ของท่านเอง

คือ มีคำตอบอยู่ในใจอยู่แล้ว แล้วไปหาหลักฐานสนับสนุนมาใส่เท่านั้น

สำหรับข้อความนี้ “ส่วนเหตุผลที่ทรงชี้ว่า มิใช่ตนหรือไม่ใช่อัตตานั้น เพราะไม่ว่าร่างกายหรือจิตใจมีความเปลี่ยนแปลง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามชอบใจมิได้” ข้อความนี้ ถึงทำให้คุณสุชีพ แม้แต่สวรรค์ชั้น 1 ก็ยังขึ้นไปอยู่ไม่ได้

พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงชี้อย่างนั้น  คุณสุชีพ ปุญญานุภาพคิดเอง แล้วไป “ตู่” พระพุทธองค์  การที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตามอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตานั้น ไม่ได้หมายความว่า “ไม่มีตัวตน” 


ถ้าไม่มีตัวตนจริงๆ จะเอาอะไรมา “เปลี่ยนแปลง”...




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น