บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ประเภทของกิเลส

ในบทความชุดนี้ ผมได้เกริ่นนำไว้ตั้งแต่บทความแรกแล้วว่า “ทำอย่างไรถึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน” ได้ ผมได้สรุปการบรรลุมรรคผลนิพพานจากพระไตรปิฎกไปแล้ว ในบทความชุดนี้

01-วิชชาสาม
02-อนัตตลักขณสูตร
03-อนุปุพพิกถา
04-อาทิตตปริยายสูตร
05-อาสวะ-อนุสัย-สังโยชน์
06-การบรรลุนิพพาน

อย่างไรก็ดี  พระไตรปิฎกนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับระบบการเรียนการสอนก็คล้ายๆ กับ “หลักสูตร” ของการศึกษา  คือ ไม่ได้บอกว่า “ให้สอนอย่างไร” บอกแต่เพียงว่า “ให้สอนอะไร” เท่านั้น

บรรดาพวกครูทั้งหลายจะต้องไปหา “เนื้อหา” พร้อมกับวิธีสอนเอาเอง

ดังนั้น ในพระไตรปิฎกก็จะบอกแต่เพียงว่า “จะบรรลุพระอรหันต์จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้” คือ กำจัดกิเลส กำจัดสังโยชน์ได้ โดยทำตามโพธิปักขยธรรม จนกระทั่งวิชชา 3

แต่ไม่ได้บอกไว้ว่า “จะต้องปฏิบัติอย่างไร”

ในบทความชุดต่อไปนี้ จะนำเสนอว่า การบรรลุมรรคผลนิพพานในวิชาธรรมกายทำอย่างไร ซึ่งเป็นการนำพระไตรปิฎกมาอธิบายแนวทางปฏิบัติ

ขอสรุปก่อนว่า การบรรลุมรรคผลนิพพานมีขั้นตอนในการปฏิบัติแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1) บารมีครบ 30 ทัศต้องครบถ้วน

2) ต้องใช้วิชชา 3 เพื่อกำจัดกิเลสให้หมด และบรรลุเป็นเตรียมอริยบุคคล

3) ต้องละสังโยชน์ 10 เพื่อให้เป็นพระอริยบุคคลที่สูงขึ้นจนถึงพระอรหันต์

4) ต้องใช้วิปัสสนาญาณ 10

อย่างไรก็ดี เมื่อศึกษาประเด็นที่เกี่ยวกับ “กิเลส” ของพุทธวิชาการและพุทธปฏิบัติธรรมอื่นๆ ผมพบว่า กลุ่มบุคคลเหล่านั้น มีความเข้าใจเกี่ยวกับกิเลสน้อยมาก 

โบราณกล่าวว่า กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด ถ้าไม่เข้าใจกิเลสแล้ว จะกำจัดกิเลสให้หมดไปจากใจได้อย่างไร

ขอยกตัวอย่างคำถาม-คำตอบจากหนังสือ “คำถาม-คำตอบปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม 1” ของคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ ในหน้า 34 ดังนี้

คำถาม

โลภะ โทสะ โมหะ เป็นกิเลสที่พูดกันอยู่ แต่บางทีก็พูดว่า ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร?

คำตอบ

ถ้ากล่าวในฐานะเป็นมูลรากความชั่ว ที่เรียกว่า อกุศลมูล ท่านใช้คำว่า โลภะ โทสะ โมหะ ถ้ากล่าวในฐานะเป็นไฟให้เร่าร้อน ท่านใช้คำว่า ราคะ โทสะ โมหะ

โลภะหรือความโลภนั้น เป็นต้นเหตุให้ทำความชั่วได้ต่างๆ แต่ตัวที่เผาจิตให้เร่าร้อน ท่านเรียกราคะ

ความกำหนัดยินดี กิเลสทั้งสองชื่อนี้ คือ โลภะกับราคะ เป็นกิเลสประเภทเดียวกัน ใช้เรียกแทนกันได้

คำตอบของคุณสุชีพข้างต้นนั้น  คุณสุชีพท่านตอบแบบ “ลากสีข้างเข้าถู”  คนเขาถามว่า ชื่อกิเลส 2 ชุดข้างล่างนี้ต่างกันอย่างไร  ดังนี้

ราคะ
โทสะ
โมหะ
โลภะ
โทสะ
โมหะ

คนเขาสงสัยว่า โลภะ กับ ราคะ เป็นกิเลสคนละตัวกัน  แต่ 2 ตัวหลังคือ โทสะ กับ โมหะ เหมือนกัน

การตอบของคุณสุชีพนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า คุณสุชีพไม่เข้าใจ “กิเลส” อย่างแจ่มแจ้ง  จึงตอบมั่วไปแบบนั้น

ดังได้กล่าวแล้วว่า ในบทความส่วนนี้ จะนำมาจากหนังสือของสายวิชาธรรมกาย  หนังสือ 4 เล่มหลักก็คือ หนังสือของหลวงพ่อวัดปากน้ำ จำนวน 4 เล่มนี้

01-ทางมรรคผล 18 กาย
02-คู่มือสมภาร
03-วิชชามรรคผลพิสดาร
04-วิชชามรรคผลพิสดาร ๒



ในการใช้หนังสืออื่นเพิ่มเติม ก็จะเน้นหนังสือที่เป็นของสายวิชาธรรมกายเป็นหลัก  ในหนังสือมรรคผลนิพพาน (18กาย) อธิบายว่ากายของมนุษย์นั้นมี 18 กาย ดังนี้

1) กายมนุษย์หยาบ
2) กายมนุษย์ละเอียด
3) กายทิพย์หยาบ
4) กายทิพย์ละเอียด
5) กายรูปพรหมหยาบ
6) กายรูปพรหมละเอียด
7) กายอรูปพรหมหยาบ
8) กายอรูปพรหมละเอียด
9) กายธรรมโคตรภูหยาบ
10) กายธรรมโคตรภูละเอียด
11) กายธรรมพระโสดาหยาบ
12) กายธรรมพระโสดาละเอียด
13) กายธรรมพระสกิทาคามีหยาบ
14) กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด
15) กายธรรมพระอนาคามีหยาบ
16) กายธรรมพระอนาคามีละเอียด
17) กายธรรมพระอรหัตหยาบ
18) กายธรรมพระอรหัตละเอียด

การแบ่งกายของมนุษย์เป็น 18 กายนั้น สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกอย่าง  อย่างที่สายวิชาอื่นๆ อธิบายไม่ได้ชัดเจนเท่า


ขอให้ดูแผนผัง 31 ภูมิ ดังนี้ 


ผู้ที่ทำวิชา 18 กายได้ ถ้าตอนตายบารมีที่ทำมาทั้งหมดได้แค่กายไหน ก็ไปตามภพภูมิของชั้นนั้น

ถ้าทำได้แค่กายมนุษย์ก็กลับมาเกิดใหม่  กายทิพย์ก็ไปสวรรค์ 6 ชั้น กายรูปพรหมก็ไปรูปพรหม 16 ชั้น กายอรูปพรหมก็ไปอรูปพรหม 4 ชั้น

บุคคลที่เป็นอริยบุคคลก็ไปตามพระไตรปิฎก

คนที่ทำความชั่ว ไม่ได้กายอะไรเลยใน 18 กาย ก็ไปอบายภูมิ 4

สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับกิเลสนั้น  หลวงพ่อวัดปากน้ำจัดไว้ดังนี้

กาย
กิเลส
กายมนุษย์
อภิชฌา
พยาบาท
มิจฉาทิฐิ
กายทิพย์
โลภะ
โทสะ
โมหะ
กายรูปพรหม
ราคะ
โทสะ
โทสะ
กายอรูปพรหม
กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย
อวิชชานุสัย

กิเลสของกายมนุษย์เป็นกิเลสอย่างหยาบ กิเลสของกายทิพย์กับกายรูปพรหมเป็นกิเลสอย่างกลาง กิเลสของกายอรูปพรหมเป็นกิเลสอย่างละเอียด

เมื่อกิเลสทั้งหมดถูกกำจัดออกไป บุคคลผู้นั้นก็จะเป็น “เตรียมอริยบุคคล” สำหรับในวิชาธรรมกาย บุคคลประเภทนี้ จะเห็นกายธรรมโคตรภูของเขา

จะเห็นได้ว่า กิเลสที่คนเขาถามมาแล้วคุณสุชีพตอบมั่วไปนั้น

ราคะ
โทสะ
โมหะ
โลภะ
โทสะ
โมหะ

หลวงพ่อวัดปากน้ำตอบได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง  ราคะ โทสะ โมหะ เป็นกิเลสของกายรูปพรหม  ส่วน โลภะ โทสะ โมหะ เป็นกิเลสของกายทิพย์  เป็นกิเลสของกายคนละประเภท






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น