ในบทความชุดนี้
ผมได้เกริ่นนำไว้ตั้งแต่บทความแรกแล้วว่า “ทำอย่างไรถึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน”
ได้
ทั้งๆ
ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย ต่างก็มีจุดมุ่งหมายคือ นิพพานทั้งสิ้น
และมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
ขอยกตัวอย่างจากบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ เป็นตอนที่นางพิมพิลาไลยหรือนางวันทอง
อธิษฐานของเป็นคู่กับพลายแก้วตลอดไป
ดังนี้
จะเกิดไปในภพชาติหน้า
|
ขอให้ข้าพบกันให้จงได้
|
ร้อยกัปแสนกัลป์อนันต์ไกล
|
พบกันไปตราบเท่าเข้านิพพาน
|
อย่างไรก็ดี
จากการศึกษาจากเอกสารเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพุทธวิชาการหรือพุทธปฏิบัติธรรม
ล้วนแต่อธิบายการบรรลุมรรคผลนิพพานอย่างมีข้อบกพร่องทั้งสิ้น
กล่าวคือ
อ่านไปจนหัวแทบแตกก็ยังไม่รู้ว่าจะ “บรรลุมรรคผลนิพพาน”
ได้อย่างไร
การอธิบายการบรรลุมรรคผลนิพพานของกลุ่มบุคคลดังกล่าวนั้น
อธิบายได้เพียงบางส่วน ยังไม่มีเห็นมี “บุคคลใด” อธิบายได้อย่างครบถ้วนกระบวนความ
ประการที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรจึง จะ “บรรลุมรรคผลนิพพาน” ได้
ตรงนี้ขอบอกไว้ก่อนเลยว่า
วิชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
(ภาษีเจริญ) อธิบายไว้อย่างครบถ้วนกระบวนความ และยังบอกแนวทางปฏิบัติ พร้อมทั้งปฏิเวธไว้อย่างเรียบร้อย
จากที่เขียนบทความมาทั้งหมดก่อนหน้าบทความนี้
เราจะมาสรุปตัวชี้วัดของการที่เราๆ ท่านๆ จะบรรลุมรรคผลนิพพานมี ดังนี้คือ
1) บารมีครบ 30 ทัศ
บารมี
หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ
การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา
คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย
เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ
บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ
คือ
ทานบารมี
|
ศีลบารมี
|
เนกขัมมะบารมี
|
ปัญญาบารมี
|
วิริยะบารมี
|
ขันติบารมี
|
สัจจะบารมี
|
อธิษฐานบารมี
|
เมตตาบารมี
|
อุเบกขาบารมี
|
ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น
3 ขั้น ได้แก่ บารมีขั้นต้น บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี
บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ
2) ต้องใช้วิชชาสาม
วิชชาสาม
คือ วิชชาบุพเพนิวาสานุสสติญาณ วิชชาจุตูปปาญาณ
และวิชชาอาสวักขยญาณ เพื่อกำจัดกิเลส หยาบ-กลาง-ละเอียด ดังนี้
หยาบ
|
อภิชฌา
|
พยาบาท
|
มิจฉาทิฐิ
|
กลาง
|
โลภะ
|
โทสะ
|
โมหะ
|
กลาง
|
ราคะ
|
โทสะ
|
โมหะ
|
ละเอียด
|
กามราคานุสัย
|
ปฏิฆานุสัย
|
อวิชชานุสัย
|
ในวิชชาอาสวักขยญาณนั้น
มีการพิจารณาอริยสัจ 4 เพื่อกำจัดอวิชชาอยู่ในนั้นเรียบร้อยแล้ว และมรรค 8 นั้นก็อยู่ในอริยสัจ
4
ในการที่จะทำวิชชาสามนั้น
ก็ต้องเริ่มมาตั้งแต่สมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โพธิปักขยธรรม 37 ฯลฯ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็จะมาทำวิชชาสามเลย
3) ต้องละสังโยชน์ให้ได้
สังโยชน์
คือกิเลสที่ยังอยู่กับโสดาบันบุคคล มี 10 ชนิด ดังนี้
สังโยชน์เบื้องต่ำ
|
สังโยชน์เบื้องสูง
|
1)
สักกายทิฏฐิ
|
6)
รูปราคะ
|
2)
วิจิกิจฉา
|
7)
อรูปราคะ
|
3)
สีลัพพตปรามาส
|
8)
มานะ
|
4)
กามราคะ
|
9)
อุทธัจจะ
|
5)
ปฏิฆะ
|
10)
อวิชชา
|
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
จากการศึกษาเอกสารต่างๆ ยังไม่มีบุคคลใด
หรือสายปฏิบัติธรรมใดที่อธิบายประเด็นที่เกี่ยวกับการบรรลุมรรคผลนิพพานได้อย่างละเอียดครบถ้วน
ยกเว้นวิชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
บุคคล
คณะบุคคล และสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ นั้น อธิบายไม่แจ่มแจ้ง
เนื่องจากขาดทักษะการปฏิบัติบ้าง
ปฏิบัติผิดๆ ถูกๆ บ้าง
มั่วเอาบ้าง...
สิ่งที่น่าจะตั้งข้อสังเกตไว้
ณ ที่นี้ก็คือ ในพระไตรปิฎกไม่ได้มีการกำหนดประเภทของวิปัสสนาญาณไว้
และไม่ได้กำหนดด้วยว่า ในการบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น จะใช้วิปัสสนาญาณช่วงไหน
ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
และคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีการบรรยายขั้นต่างของการวิปัสสนา เป็น 16 ขั้น
หรือเรียกว่า ญาณ16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา
โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ
1. นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
|
2. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง
ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
|
3. สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
|
4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง
ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้(ระหว่างเกิดถึงดับ
เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
|
5. ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง
ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา(ระหว่างดับถึงเกิด)
|
6. ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง
ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
|
7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง
ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
|
8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง
ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
|
9. มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง
ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
|
10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง
ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
|
11. สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง
ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
|
12. สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง
ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น
สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง ๘ ตามลำดับ
)
|
13. โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ
หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ) เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง
ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
|
14. มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
|
15. ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
|
16. ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน
|
สำหรับวิปัสสนาญาณ
10 ที่จะกล่าวถึงต่อไปในข้างหน้านั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ กำหนดไว้ดังนี้
1.
สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
|
2.
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้(ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
|
3.
ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง
ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา(ระหว่างดับถึงเกิด)
|
4.
ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน
ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
|
5.
อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง
ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
|
6.
นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
|
7.
มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
|
8.
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
|
9.
สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
|
10.
สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น
สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง ๘ ตามลำดับ )
|