บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การบรรลุนิพพาน

ในบทความชุดนี้ ผมได้เกริ่นนำไว้ตั้งแต่บทความแรกแล้วว่า ทำอย่างไรถึงจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้

ทั้งๆ ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย ต่างก็มีจุดมุ่งหมายคือ นิพพานทั้งสิ้น และมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว 

ขอยกตัวอย่างจากบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนอีกครั้งหนึ่ง  ตอนนี้ เป็นตอนที่นางพิมพิลาไลยหรือนางวันทอง อธิษฐานของเป็นคู่กับพลายแก้วตลอดไป  ดังนี้

จะเกิดไปในภพชาติหน้า
ขอให้ข้าพบกันให้จงได้
ร้อยกัปแสนกัลป์อนันต์ไกล
พบกันไปตราบเท่าเข้านิพพาน

อย่างไรก็ดี จากการศึกษาจากเอกสารเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพุทธวิชาการหรือพุทธปฏิบัติธรรม

ล้วนแต่อธิบายการบรรลุมรรคผลนิพพานอย่างมีข้อบกพร่องทั้งสิ้น

กล่าวคือ อ่านไปจนหัวแทบแตกก็ยังไม่รู้ว่าจะ “บรรลุมรรคผลนิพพาน” ได้อย่างไร

การอธิบายการบรรลุมรรคผลนิพพานของกลุ่มบุคคลดังกล่าวนั้น อธิบายได้เพียงบางส่วน ยังไม่มีเห็นมี บุคคลใดอธิบายได้อย่างครบถ้วนกระบวนความ

ประการที่สำคัญที่สุดก็คือ  ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรจึง จะ “บรรลุมรรคผลนิพพาน” ได้

ตรงนี้ขอบอกไว้ก่อนเลยว่า

วิชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) อธิบายไว้อย่างครบถ้วนกระบวนความ และยังบอกแนวทางปฏิบัติ พร้อมทั้งปฏิเวธไว้อย่างเรียบร้อย

จากที่เขียนบทความมาทั้งหมดก่อนหน้าบทความนี้ เราจะมาสรุปตัวชี้วัดของการที่เราๆ ท่านๆ จะบรรลุมรรคผลนิพพานมี ดังนี้คือ

1) บารมีครบ 30 ทัศ

บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ

บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ คือ

ทานบารมี
ศีลบารมี
เนกขัมมะบารมี
ปัญญาบารมี
วิริยะบารมี
ขันติบารมี
สัจจะบารมี
อธิษฐานบารมี
เมตตาบารมี
อุเบกขาบารมี

ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่ บารมีขั้นต้น บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ

2) ต้องใช้วิชชาสาม

วิชชาสาม คือ วิชชาบุพเพนิวาสานุสสติญาณ วิชชาจุตูปปาญาณ  และวิชชาอาสวักขยญาณ เพื่อกำจัดกิเลส หยาบ-กลาง-ละเอียด ดังนี้

หยาบ
อภิชฌา
พยาบาท
มิจฉาทิฐิ
กลาง
โลภะ
โทสะ
โมหะ
กลาง
ราคะ
โทสะ
โมหะ
ละเอียด
กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย
อวิชชานุสัย

ในวิชชาอาสวักขยญาณนั้น มีการพิจารณาอริยสัจ 4 เพื่อกำจัดอวิชชาอยู่ในนั้นเรียบร้อยแล้ว และมรรค 8 นั้นก็อยู่ในอริยสัจ 4

ในการที่จะทำวิชชาสามนั้น ก็ต้องเริ่มมาตั้งแต่สมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โพธิปักขยธรรม 37 ฯลฯ  ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็จะมาทำวิชชาสามเลย

3) ต้องละสังโยชน์ให้ได้

สังโยชน์ คือกิเลสที่ยังอยู่กับโสดาบันบุคคล มี 10 ชนิด ดังนี้

สังโยชน์เบื้องต่ำ
สังโยชน์เบื้องสูง
1) สักกายทิฏฐิ
6) รูปราคะ
2) วิจิกิจฉา
7) อรูปราคะ
3) สีลัพพตปรามาส
8) มานะ
4) กามราคะ
9) อุทธัจจะ
5) ปฏิฆะ
10) อวิชชา

ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า จากการศึกษาเอกสารต่างๆ ยังไม่มีบุคคลใด หรือสายปฏิบัติธรรมใดที่อธิบายประเด็นที่เกี่ยวกับการบรรลุมรรคผลนิพพานได้อย่างละเอียดครบถ้วน ยกเว้นวิชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

บุคคล คณะบุคคล และสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ นั้น อธิบายไม่แจ่มแจ้ง เนื่องจากขาดทักษะการปฏิบัติบ้าง  ปฏิบัติผิดๆ ถูกๆ บ้าง  มั่วเอาบ้าง...

สิ่งที่น่าจะตั้งข้อสังเกตไว้ ณ ที่นี้ก็คือ ในพระไตรปิฎกไม่ได้มีการกำหนดประเภทของวิปัสสนาญาณไว้ และไม่ได้กำหนดด้วยว่า ในการบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น จะใช้วิปัสสนาญาณช่วงไหน

ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีการบรรยายขั้นต่างของการวิปัสสนา เป็น 16 ขั้น หรือเรียกว่า ญาณ16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ

1.  นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป

2.  นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป

3.  สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์

4.  อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้(ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)

5.  ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา(ระหว่างดับถึงเกิด)

6.  ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด

7.  อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้

8.  นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย

9.  มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย

10.  ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี

11.  สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร

12.  สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์  (พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง  ๘  ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง  ๘  ตามลำดับ )

13.  โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)  เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ

14.  มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค

15.  ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล

16.  ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน

สำหรับวิปัสสนาญาณ 10 ที่จะกล่าวถึงต่อไปในข้างหน้านั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ กำหนดไว้ดังนี้

1.  สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์

2.  อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้(ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)

3.  ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา(ระหว่างดับถึงเกิด)

4.  ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด

5.  อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้

6.  นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย

7.  มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย

8.  ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี

9.  สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร

10.  สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ (พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง  ๘  ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง  ๘   ตามลำดับ )






9 ความคิดเห็น:

  1. เห็นด้วยคะว่า จะบรรลุมรรคผลนิพพาน ตามที่ได้ท่านได้เขียนไว้ แต่ก็ขออนุญาตแสดงความเห็นในเรื่องที่ว่า

    "บุคคล คณะบุคคล และสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ นั้น อธิบายไม่แจ่มแจ้ง เนื่องจากขาดทักษะการปฏิบัติบ้าง ปฏิบัติผิดๆ ถูกๆ บ้าง มั่วเอาบ้าง..."

    ไม่แน่แน่ชัดว่าฉันอ่านเข้าใจท่านผิดไปหรือป่าว จึงขอแแย้งตามความเข้าใจนะคะ ที่ได้ประสบมา แม้ยังไม่ได้อธิบายแจ่มแจ้ง เนื่องจากเน้นที่การปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แยกขันธ์ 5 ธาตุ 4 อายตนะ 12 และพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ไปพร้อมกัน พระอาจารย์ไม่ได้สอนเหมารวมกับคนทุกคนเป็นบทที่ 1 2 3 4 เป็นต้นจนจบ แต่ละดูวาระจิตของแต่ละคน ภูมิธรรมของแต่ละคน แม้ไม่ได้สอนเป็นลำดับว่ามีอะไรบ้าง แต่บางคนได้สะสมบารมีมามากพอที่จะสอนเพียงนิดเดียว ก็สามารถจะเข้าใจได้ง่ายแล้วไปปฏิบัติวิปัสสนาเอง

    เพราะฉะนั้นแล้ว ที่ว่า " สายปฏิบัติธรรมอื่นๆ นั้น อธิบายไม่แจ่มแจ้ง เนื่องจากขาดทักษะการปฏิบัติบ้าง" จึงยังไม่เห็นด้วยคะ

    ตอบลบ
  2. นานๆ จะมีคนมีโต้แย้งอย่างเป็นวิชาการ จึงตอบดังนี้

    คุณลองเอา "คำสอน" ตำรา หรือหนังสือของสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ รวมทั้ง พุทธวิชาการ และนักปริยัติทั้งหลาย ที่สอนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานแบบปฏิบัติตามได้มาให้ผมดูหน่อย

    วิชาธรรมกายอธิบายชัดเจนตามพระไตรปิฎก คือ การทำวิชา 3 ทำอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร

    แต่สายอื่นๆ นั้น "มั่ว" ไม่มีคำอธิบายที่สามารถปฏิบัติตามได้

    ขอยกตัวอย่างสายยุบหนอพองหนอก็แล้วกัน

    พวกนี้ไม่เคยเอ่ยถึงวิชา 3 ไม่เคยเอ่ยถึงอริสัจ 4 บอกแต่แต่ว่า พิจารณาหัวข้อใด หัวข้อหนึ่งของ "สติปัฏฐาน 4" ก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้แล้ว

    มันจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะ พระพุทธเจ้าท่านค้นพบ "อริยสัจ 4" สติปัฏฐาน 4 นั้น เป็นธรรมะในระดับพื้นฐานเท่านั้น

    ตอบลบ
  3. @คุณ Manas Komoltha ฉันไม่ได้เรียนสายที่ใช้ตำรา หรือหนังสือของสายปฏิบัติธรรม จึงไม่สามารถจะยกมาได้นะคะ แต่จะเล่าในส่วนตัวของฉันเอง

    เริ่มต้นที่ฉันนั่งสมาธิครั้งแรกเห็นกายแยกเป็น 2 กาย คือกายเนื้อกับกานละเอียด เกิดอาการกลัว วันต่อมาจึงกำหนดใหม่ด้วยก็ไม่ออกนอกกาย ทำสมาธิเองไปเรื่อยๆแบบคนไม่มีคนสอน นิมิตเห็นร่างกายค่อยๆเน่าเปื่อย มีน้ำเหลือง น้ำหนอง หนอนเจาะไช เนื้อค่อยๆ น้อยลง จนร่างกายเป็นผง แล้วถูกลมพัดหายไปหมด และได้อื่นๆ
    อีกมาก จากยังไม่มีครูฝึก แล้วได้มีโอกาสพบพระอาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นพระธุดงค์ ท่านจึงไม่สอนอะไรมากนัก เคยได้เรียนกับท่านเพียงทำลูกอม ต้องทำจิตให้เป็นประภัสสร ภาวนานานถึง 6 ชม. ห้ามหยุด ท่านว่าถ้าจิตผ่องใสดี ลูกอมก็จะเป็นแก้วใส เมื่อแก้วใสแล้วก็จะได้ ต่อไปให้ภาวนาทุกวัน จนกว่าจะใส

    แม้ว่า พระอาจารย์จะไม่ได้อธิบายอะไรมาก เพราะท่านเป็นพระโบราณอายุเป็นปริศนา อาจารย์ของท่านก็มีอายุ 2 พันกว่าปีแล้ว การสอนก็เป็นแบบพระธุดงค์ ลงมือสอนปฏิบัติเลย เพราะถ้าลงมือปฏิบัติเองจะรู้เองเข้าใจเอง ถ้ายังไม่รู้ท่านพูดหรือสอน อริยสัจ 4 และ สติปัฏฐาน 4 ก็ยังไม่เข้าใจได้แต่ท่องจำ แล้วอริยสัจ 4 สติปัฏฐาน 4 ในพระไตรปิฎกก็มีอยู่ ฉันก็พอรู้บ้าง แต่การจะรู้แจ้งแทงได้ตลอด เดินหน้า ถอยหลัง คั้นกลาง สลับไปมา ยักย้าย จะทำไม่ได้ ท่านจึงดูที่วาระจิตฉันว่า ควรสอนอะไร อะไรไม่ต้องสอนแล้ว เป็นต้น

    อดีตแฟนเก่า เล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์เล่าเรื่องนึงให้ฟัง สมัยที่ท่านธุดงค์ตามชายแดน ท่านได้วิชชาต่างๆ ก็มีการทดสอบกับพระธุดงค์อื่นๆ ท่านชนะทุกรูป การทดสอบวิชชาก็มีเช่นว่า แปลงร่างเป็นสัตว์ต่างๆ ได้ อีกฝ่ายก็แปลงเป็นสัตว์ที่เหนือกว่า ท่านก็มีความหึกเหิมว่าท่านเก่ง ซึ่งตอนนั้นจิตยังเป็นโลกียะอยู่ พอรู้ข่าวว่า มีพระท่านหนึ่งอยู่ทางฝั่งชายแดนลาวเก่งมาก ท่านจึงเดินทางเพื่อไปทดสอบวิชชา

    แต่ในที่สุด ไปถึง ด้วยความประมาณเพราะตอนนั้นท่านยังหายตัว ยังเดินเหมือนเหาะลอยไม่ได้ กว่าจะไปถึงก็เหนื่อย พระองค์นั้นก็ว่า ให้ดื่มน้ำก่อน แล้วค่อยว่ากัน ท่านยกน้ำดื่มเข้าปากไปนิดเดียว ก็ตัวแข็ง ท่านก็ว่า เพราะความประมาทนี่เอง แล้วท่านก็ว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า

    เรื่องนี้อดีตแฟนเก่ามาเล่าให้ฟังอีกที ท่านเล่าเพื่อจะสอนอดีตแฟน ในตอนนั้นอดีตแฟนคนนี้เรียนมโนยิทธิแล้วก็เก่งพอควรอยู่บ้าง เลยมีทิฏฐิมานะในตัวตนมาก ท่านจึงเล่าเรื่องเพื่อสอนให้ลด ให้ถ่อมตนลงมาบ้างว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เพียงแค่เรายังไม่เจอใช่ว่าจะไม่มี

    ในภายหลังได้พบพระอาจารย์อีกท่าน อายุร้อยกว่าปี ท่านก็ไม่ได้สอนอะไรมากอีกนั่นแหละ แต่จะมีอยู่คราวที่อยู่บ้านวิปัสสนาเรื่องขันธ์ 5 ยังไม่แตก ได้ไปกราบท่านยังไม่พูดอะไร ตอนนั้นไปกราบท่านก็อยู่คนเดียวไม่มีคนอื่น ท่านก็พูดมาเองว่า ให้พิจารณาอย่างนี้นะ ธาตุดินลักษณะยังไง น้ำยังไง ลมยังไง ไฟยังไง และอธิบายสติปัฏฐาน 4 อธิบายสั้นๆ แบบในพระไตรปิฎกอย่างนั้นแหละ แต่สอนให้ต้องพิจารณาไปด้วยกัน แล้วฉันก็กลับมาพิจารณาเอง

    นี่คือตัวอย่างบางส่วน ที่เป็นการปฏิบัติในอีกแบบหนึ่ง

    ตอบลบ
  4. ที่คุณเล่ามานั้น ผมไม่มีข้อโต้แย้งอะไร

    แต่บทความที่ผมเขียนนั้น ผมต้องการเสนอว่า "สายปฏิบัติธรรมอื่นๆ ไม่สามารถสอนว่า การจะไปนิพพานนั้นทำอย่างไร"

    เพราะ พระพุทธองค์สอนชัดเจนว่า พระองค์ใช้วิชา 3 วิชาที่ 3 คือ อาสวักขยญานนั้น จะมีการปฏิบัติอริยสัจ 4 อยู่ด้วย

    ซึ่งก็ต้องมี มรรค 8 ด้วย วิชา 3 อริยสัจ 4 มรรค 8 คือ ทางที่จะบรรลุอรหันต์

    ดังนั้น ข้อเขียนของผมก็ยังถูกอยู่ เพราะ อาจารย์ที่คุณเล่ามานั้น ท่านอาจจะเป็นพระอรหันต์ก็ได้ ผมไม่เถียง

    แต่ผมพูดถึง "ตำรา" ที่จะให้คนรุ่นหลังอ่านและปฏิบัติตาม

    ตอบลบ
  5. คืออย่างนี้คะ พระอาจารย์ฉันก็อายุมากกันแล้ว จะเขียนเป็นตำราก็ไม่ได้ หรือแม้ฉันได้เรียนรู้มา ก็เขียนเป็นตำราสอนไม่ได้อีกอยู่นั่นหน่ะ เขียนไม่เก่ง

    ส่วนตำราที่คุณว่านั้น ในสมัยนี้ยอมรับว่ามีมากทีเดียว ที่สอนผิดๆ ไม่เหมือนการปฏิบัติรู้ได้เอง แต่ฉันเคยมีตำราเก่าโบราณท่านสอนดีมาก แต่ภาษาโบราณมากไปหน่อย ถ้าคนไม่รู้จริงก็เอาไปแปลตามภูมิธรรมของเขา

    ตอบลบ
  6. โพสต์ไปทีนึงแล้วไม่ขึ้น ก็ไม่ทราบว่าจะขึ้นทีหลังไม๊ อีกสักครั้ง

    "ตำรา" ที่จะให้คนรุ่นหลังเขียน ยอมรับว่า เท่าที่ไปเจอร้านหนังสือ มีมากจริงๆที่บ้าบอ มีส่วนผิดมากกว่าส่วนถูกคะ

    ส่วนที่ฉันเรียนรู้ พระอาจารย์ท่านก็ชราภาพมากแล้ว ไม่เขียนตำรา และฉันก็ไม่เขียนไม่เป็น เคยถามเรื่องบทสวดมนต์ว่าท่านสวดอะไร ท่านว่า ตำราท่านเผยแพร่ไม่ได้เลย ตัวหนังสือจะไม่ปรากฏให้คนอื่นเห็น ถ้า..... คิดว่าตรงนี้คงเข้าใจนะคะ

    ตอบลบ
  7. ผมว่า คุณไม่เข้าใจเรื่องที่ผมเขียนมากกว่า

    1) เมื่อคุณให้ความเห็น ความเห็นจะยังไม่ขึ้นทันที จะต้องให้ผมตรวจก่อน เพราะ ป้องกันการด่ากันอย่างเสียๆ หายๆ โปรแกรมของ Blog กำหนดมาอย่างนั้น

    2) สำหรับที่คุณเขียนมานั้น คุณไม่เข้าใจเรื่อง การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM)

    ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge)

    ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

    ที่ผมเขียนไปทั้งหมดก็คือ เรื่องการบรรลุมรรคผลนิพพานของสายปฏิบัติธรรมอื่น ยังเป็นความรู้ฝังลึก ไม่ได้เขียนออกมาให้คนอื่นสามารถอ่านและปฏิบัติตามได้

    ที่ผมเขียนไปก็ถูกแล้ว ถ้าคุณจะแย้งคุณก็เอาหลักฐานของคุณมา ถ้าคุณเห็นด้วย คุณก็เขียนออกมา

    คุณพยายามมาโต้แย้ง แบบไม่มีเหตุผล คือ เล่าเรื่องให้ฟัง ซึ่งมันก็เข้าทางของผมอยู่ดี

    ผมจึงงงๆ ว่า แล้วคุณมาแย้งทำไม......

    ตอบลบ
  8. ลองอ่านข้อความในบล็อกนี้ดูนะคะ เป็นการบันทึกข้อความตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติ

    หรือหาอ่านด้านข้าง จะมีเขียนแยกหมวดไว้ ในหมวด นิพพาน จะมีเขียนแยกแยะสภาวะรายละเอียดลงไว้

    หรือ โยินิโสนสิการ ที่เป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง ที่เป็นเหตุปัจจัยของการเกิด อริยมรรค มีองค์ ๘ หรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

    http://walailoo2010.wordpress.com/

    ตอบลบ
  9. จะให้ไปวิพากษ์วิจารณ์หรือไงครับ

    ตอบลบ